วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประวัติกล้วยไม้

1. ประวัติกล้วยไม้ > ประวัติกล้วยไม้



ประวัติกล้วยไม้


ประวัติกล้วยไม้
กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย
จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงามของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวันตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดาข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ที่หายากและมีราคาแพง
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย
การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการกล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัดต่างๆ
ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวงแคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ในประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต
ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วยไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ
ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา



--------------------------------------------------------------------------------


ที่มา
http://www.panmai.com/Orchid/orchid.shtml

ครูขนิษฐา

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล๊อกครูขนิษฐา ท่านสามารถค้นหาความรู้ในเรื่องราวของห้องสมุดโรงเรียน การเรียนรู้วิชาภาษาไทย สื่อที่น่าสนใจ และรูปภาพสวย ๆ ดูได้ที่นี่

"พุทธชยันตี" 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้

พิธีพุทธชยันตีที่เดลี กับการสังเกตการณ์กิจการพระพุทธศาสนาในศรีลังกา ในปีพ.ศ. ๒๔๙๓ เรื่องการจะเปลี่ยนมาสมาทานนับถือพระพุทธศาสนาของ ดร.อัมเบดการ์ชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น เพียงแต่รอจังหวะเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น ในปีเดียวกันนี้ ท่านได้แนะนำให้บริวารชนของท่านจัดเฉลิมฉลองวันพุทธชยันตี ๗ มีการจัดงานดังกล่าวขึ้นในกรุงนิวเดลี ท่านเองก็ได้ไปร่วมงานนี้ด้วย วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ชาวอินเดียในกรุงนิวเดลีก็ได้ชื่นชมกับขบวนแห่ของชาวพุทธเป็นครั้งแรกในรอบพันปีแต่พระพุทธสาสนาอันตรธานไปจากอินเดีย ในช่วงปีนั้นเช่นกัน ดร.อัมเบดการ์ได้เขียนบทความชื่อ “พระพุทธเจ้ากับอนาคตของพระพุทธศาสนา (Buddha and the Future of His Religion)" ตีพิมพ์ในวารสาร “มหาโพธิ” ฉบับวิสาขบูชาของสมาคมมหาโพธิ เมืองกัลกัตตา(โกลกาตา) ในบทความนี้ท่านได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไว้ว่า “พระพุทธศาสนาเป็นเพียงศาสนาเดียวเท่านั้นที่ชาวโลกควรยอมรับนับถือเพราะพระพุทธศาสนาสอนทั้งหลักศีลธรรม อิสรภาพ สมภาพ และภราดรภาพ” และในเดือนพฤษภาคมของปีนั้น(พ.ศ.๒๔๙๓) ดร.อัมเบดการ์ ได้รับเชิญให้เดินทางไปร่วมประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นในประเทศศรีลังกา ขณะพำนักอยู่ในศรีลังกา เป้าหมายหลักของท่านก็คือการเฝ้าสังเกตการณ์เรื่องการประกอบพิธีกรรม ได้ไปศึกษาวิธีการเผยแผ่พระศาสนาและการรักษาประทีปธรรมของพระพุทธเจ้าให้โชติช่วงมาจนถึงปัจจุบันโดยพระเถระชาวสิงหลและชาวพุทธสิงหล หลังกลับจากศรีลังกาแล้วดร.อัมเบดการ์จะเดินทางไป ณ สถานที่ใดก็ตามมักจะพูดถึงพระพุทธศาสนา ซึ่งมีทั้งอดีตอันรุ่งเรืองและมีอนาคตอันสดใสอยู่เนืองๆในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ดร.อัมเบดการ์ได้ประกาศว่า “ท่านจะอุทิศช่วงสุดท้ายของชีวิตเพื่อการฟื้นฟูและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอินเดีย”

ห้าคำมงคล

สวัสดี ขอบคุณ ขอบใจ เมื่อไม่เป็นไร ขอโทษ ห้าคำนี้จงจดจำนำไปใช้ประโยชน์นั้นมีมากมายทั้งหญิงชายล้วนชื่นชม

ข้าวห่อกะเหร่ยง

ข้าวห่อกะเหร่ยง

๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทย

วันภาษาไทยแห่งชาติ (๒๙ กรกฎาคม ) ความหมาย วันภาษาไทยแห่งชาติ คือ วันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในด้านภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นให้ชาวไทยทั่วชาติ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ร่วมใจกันใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์ภาษาไทยให้เป็นเอกลักษณ์อยู่คู่ชาติไทยต่อไป ความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๕ พระองค์ได้แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความห่วงใยในการใช้ภาษาไทยและบรรยากาศในการอภิปรายครั้งนี้ได้สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมการประชุมเป็นอย่างมาก ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ.๒๕๔๒ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ ๒๙กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ตามการเสนอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ประเทศไทยเป็นชาติที่มีภาษาพูดและภาษาเขียน ตัวอักษรไทยเป็นเอกลักษณ์ ประจำชาติ และกษัตริย์ทุกพระองค์เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ดังนั้น คนไทยจึงควรภาคภูมิใจและรู้จักการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องถึงแม้วัฒนธรรมตะวันตก และเทคโนโลยีจะเข้ามามีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อภาษาไทยก็ตาม ดังนั้น การมีวันภาษาไทยแห่ชาติ จะช่วยให้เกิดการรณรงค์ให้คนไทยรู้จักคุณค่า และมีการยกระดับภาษาไทยให้เป็นเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น

ความหมายของห้องสมุด

ห้องสมุด ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library มาจากศัพท์ในภาษาละตินว่า Liber แปลว่าหนังสือ โดยในอดีตห้องสมุดทำหน้าที่ เป็นแหล่งจัดเก็บหนังสือ เป็นการอนุรักษ์ความรู้ ส่วนในภาษาไทยจะใช้คำกลางๆ ว่า ห้องสมุด ในปัจจุบัน มีคำอื่นๆ ที่หน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการสารสนเทศนิยมใช้ในความหมายของคำว่าห้องสมุด เช่น ห้องสมุดของธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้คำว่า ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ ห้องสมุดของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ใช้คำว่า สำนักบรรณสารการพัฒนา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ใช้คำว่า สำนักบรรณสารสนเทศ และมีห้องสมุดมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ใช้คำว่า สำนักห้องสมุด สำนักหอสมุดกลาง ต่อด้วยชื่อสถาบันการศึกษานั้นๆ เป็นต้น ห้องสมุด หมายถึง สถานที่เก็บรวบรวมและให้บริการวัสดุหรือทรัพยากรสารสนเทศแก่สมาชิก โดยมีบรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตั้งแต่ การจัดหา การจัดเก็บ และการให้บริการ ตลอดจนดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรสนเทศ (ลมุล รัตตากร, 2539 : 27) ปัจจุบัน จากพัฒนาการของเทคโนโลยีด้านต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการผลิตวัสดุสารสนเทศจำนวนมาก ทั้งปริมาณและรูปแบบที่หลากหลาย การค้นหาข้อมูลสารสนเทศสามารถสืบค้นได้จากทั่วโลก โดยการสืบค้นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดมีการเปลี่ยนแปลง มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บค้นหา และเผยแพร่สารสนเทศของห้องสมุดได้ทันต่อความก้าวหน้าของวิทยากร และข่าวสารต่างๆ ที่ออกมาทุกรูปแบบ และปรับเปลี่ยนการให้บริการจากเดิม แทนที่จะให้บริการเชิงรับในรูปแบบที่อนุรักษ์ หวงแหน และคอยให้ผู้ใช้บริการมาหา เปลี่ยนเป็นการให้บริการเชิงรุก นำเสนอสารสนเทศต่อผู้ใช้มีการให้บริการสารสนเทศที่มีคุณค่าหลากหลายรูปแบบอย่างสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา ไม่จำกัดระยะเวลา สถานที่ และพยายามดำเนินการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศทุกประเภทด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จนกลายมาเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ห้องสมุดในอนาคตจึงเป็นแหล่งสั่งสมความรู้ของมนุษยชาติเป็นจำนวนมาก ที่มนุษย์สามารถ แสวงหาความรู้ได้อย่างกว้างขวางโดยไม่มีกำแพงขวางกั้น หรือเรียกว่า ห้องสมุดปราศจากกำแพง (Library without walls) และมีรูปแบบใหม่ๆ ของห้องสมุด มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) ห้องสมุดประสม (Hybrid Library) หรือห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นต้น

การจัดบุคลากรห้องสมุด

การจัดบุคลากรห้องสมุด งานห้องสมุดจะประสบผลสำเร็จและดำเนินไปได้ด้วยดีต้องมีบุคลากรเป็นผู้ดำเนินงานห้องสมุด ได้แก่ ครูบรรณารักษ์ ครูช่วยงานห้องสมุด เจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักเรียนช่วยงานห้องสมุด และอาสาสมัครช่วยงานห้องสมุด บุคลากรควรมีจำนวน ดังนี้ ๒.๑ ครูบรรณารักษ์ ไม่ควรมีชั่วโมงสอนเกิน ๕ คาบ จึงจะสามารถทำงานในห้องสมุดจัดบริการและกิจกรรมส่งเสริม การอ่านและส่งเสริมการเรียนการสอน และจัดห้องสมุดเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนได้เต็มที่ ในห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ และขนาดใหญ่ ควรมีครูบรรณารักษ์ ๑ คน ๒.๒ ครูช่วยงานห้องสมุดและเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ซึ่งจะช่วยในการดำเนินงานต่างๆ ของห้องสมุดตามความสามารถ และความสนใจ ควรมีจำนวน ๑ คน ต่อนักเรียน ๕๐๐ คน ๒.๓ นักเรียนช่วยงานห้องสมุด จะช่วยแบ่งภาระของครูบรรณารักษ์ ช่วยให้ห้องสมุดสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ในห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ควรมีนักเรียนช่วยงานห้องสมุด ๕๐ คน ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ ควรมีนักเรียนช่วยงานห้องสมุด ๔๐ คน ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง ควรมีนักเรียนช่วยงานห้องสมุด ๓๐ คน และห้องสมุดโรงเรียนขนาด เล็ก ควรมีนักเรียนช่วยงานห้องสมุด ๒๐ คน ๒.๔ อาสาสมัครช่วยงานห้องสมุด ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน บุคคลในชุมชน ซึ่งเสนอตัวเข้ามาเป็นอาสาสมัครทำงานใน ห้องสมุด และยินดีทำตามความสามารถและความเหมาะสม จำนวนนักเรียนขึ้นอยู่กับสภาพของห้องสมุดแต่ละแห่ง ห้องสมุดโรงเรียนควรมีคณะกรรมการห้องสมุดซึ่งจะทำหน้าที่กำหนดนโยบายวางแผนการดำเนินงานห้องสมุด และให้ความ สนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุด คณะกรรมการควรประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนเป็นที่ปรึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายที่รับผิดชอบงานห้อง สมุดเป็นประธาน หัวหน้าหมวดวิชาทุกหมวดวิชา หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานเป็นกรรมการ โดยมีครูบรรณารักษ์เป็นกรรมการและ เลขานุการ

องค์ประกอบของห้องสมุด

องค์ประกอบของห้องสมุดที่สำคัญ มีดังนี้ 1.หนังสือควรมีจำนวนเพียงพอ ทันสมัย การจัดเก็บดูแลรักษาเป็นระเบียบสะดวกแก่การค้นหา 2.เลือกและจัดหาวัสดุต่างๆ เช่น วารสาร จุลสาร แผนที่ ภาพยนตร์ เครื่องบันทึกเสียง และวัสดุอื่นๆที่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนได้ดี 3.สถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ มีความเหมาะสม เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่และมีน้ำใจ 4.เตรียมจัดและดูแลรักษาวัสดุเหล่านี้ เพื่อความสะดวกในการให้บริการแก่อาจารย์และนิสิต 5.บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ กระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่และมีน้ำใจ 6.การให้บริการ วัน และเวลาทำการควรจะเปิดกว้าง เพื่อให้บริการได้เต็มที่ สรุปได้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งวิทยาการที่เป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนการสอน และเป็นหัวใจของการศึกษาในทุกระดับ

การยืมและคืนหนังสือ

การยืม-คืนหนังสือ ระเบียบการยืม-คืนหนังสือห้องสมุด 1. การยืมหนังสือทุกครั้งต้องใช้บัตรยืมของห้องสมุด 2. เจ้าของบัตรเท่านั้นมีสิทธิ์ในการยืม-คืนหนังสือ 3. ผู้ยืมหนึ่งคน ยืมหนังสือได้ครั้งละไม่เกิน 2 เล่ม 4. หนังสือหนึ่งเล่ม ยืมได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน 5. ในการยืมหนังสือครั้งต่อไป ผู้ยืมต้องคืนหนังสือที่ยืมไปก่อนหน้านั้นเรียบร้อยแล้ว 6. ถ้าผู้ยืมส่งหนังสือช้ากว่ากำหนด ต้องเสียค่าปรับ วันละ 1 บาทต่อหนังสือ 1 เล่ม 7. ถ้าหนังสือที่ยืมไปเกิดชำรุด ผู้ยืมต้องรับผิดชอบในการซ่อมแซมหนังสือให้เรียบร้อย 8. ถ้าหนังสือที่ยืมไปสูญหาย ผู้ยืมต้องชดใช้ค่าหนังสือเป็นเงินจำนวน 2 เท่า ของราคาหนังสือ 9. ถ้าผู้ยืมไม่ปฏิบัติตามระเบียบการยืม-คืน หนังสือห้องสมุดที่กำหนดไว้ จะถูกยึดบัตรและหมดสิทธิ์ในการยืมหนังสือ

มรรยาทการใช้ห้องสมุด

เนื่องจากห้องสมุด เป็นสถานที่ที่มีคนมาใช้บริการจำนวนมาก จำเป็นจะต้องคำนึงถึงมรรยาทการใช้ห้องสมุด ดังต่อไปนี้ ๑.แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ๒.ไม่ควรนำกระเป๋าหนังสือ ถุงย่าม เข้าไปในห้องสมุด ยกเว้นกระเป๋าสตางค์ และฝากสิ่งของอื่นๆ ไว้ที่ที่ฝากซึ่งทางห้องสมุดจัดไว้ให้ ๓.ไม่ทำเสียงดังรบกวนผู้อื่น ๔.ไม่นำอาหาร ของขบเคี้ยว และเครื่องดื่มเข้าไปในห้องสมุด ๕.หยิบหนังสือหรือเอกสารด้วยความระมัดระวัง และอย่ารื้อค้นให้กระจุยกระจาย ๖.ไม่ขีดเขียน ฉีก หรือตัดหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ๗.เมื่อใช้หนังสือเสร็จแล้ว ให้ปฏิบัติตามระเบียบของห้องสมุดนั้นๆ ๘.ไม้ควรนำหนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือวารสารมาไว้อ่านครั้งละหลายฉบับ เพื่อผู้อื่นจะได้มีโอกาสใช้บ้าง ๙.เมื่อลุกจากที่นั่งแล้วควรเลื่อนเก้าอี้เก็บให้เรียบร้อย ๑๐.ยืมหนังสือก่อนนำออกจากห้องสมุด และส่งคืนตามวันที่กำหนด