วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

บทความทางการศึกษา

บทความการศึกษา

การศึกษา คือการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเท คโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็น มากขึ้นด้วย การศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีความสุข จะต้องมีลักษณะ ที่สำคัญดังนี้ 1. เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะทางด้านภาษา การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพปัจจุบันมีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น 2. การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพ 3. การศึกษาต้องสร้างนิสัยที่ดีงาม ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยเฉพาะนิสัยรักการ เรียนรู้ และนิสัยอื่น ๆ เช่นความเป็นคนซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รับผิดชอบ เป็นต้น 4. การศึกษาต้องสร้างความงอกงามทางร่างกาย มีสุขภาพพลามัยที่ดี รู้จัก รักษาตนให้แข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และสารพิษ 5. การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวมให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในสังคม อยู่รวมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยสร้างสังคมที่สงบเป็นสุข รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน 6. การศึกษาต้องทำให้คนมีทักษะการงานอาชีพที่เพียงพอกับการเข้าสู่การงานอาชีพ รู้จักการประกอบอาชีพและรู้จักพัฒนาการงานอาชีพ ทั้ง 6 ประการ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่จำเป็น ที่คนจะต้องได้รับรู้อย่างทั่วถึงทุกคน ถ้าทุกคนได้รับอย่างครบถ้วน เพียงพอก็จะทำให้เกิดทักษะลักษณะและนิสัยที่พึงประสงค์ได้ การศึกษาจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพียงสำหรับคนบางคน แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ขาดความพร้อมในปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ยิ่งมีความ จำเป็นมากที่สุด คนที่ขาดความพร้อมต้องการการศึกษามาก มักเป็นกลุ่มคนที่ถูกลืมตลอดเวลา การศึกษาที่ได้รับก็มักเป็นบริการที่กระท่อนกระแท่น ไม่เพียงพอกับการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่พอแม้เพียงเพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย ตรงข้ามกับผู้ที่มีความพร้อมพอจะช่วยตนเองได้ กลับได้รับบริการที่มีคุณภาพและปริมาณที่ดีกว่ามาก ดังจะเห็นได้จากสถานศึกษาในเมืองกับในชนบท ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ การศึกษานอกจาก จะไม่สามารถสร้างความพร้อมที่เพียงพอกับผู้ต้องการแล้ว ยังส่งเสริมให้ช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนแตกต่างกันมากขึ้นด้วย เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับยุทธศาสตร์การศึกษาเสียใหม่ให้หันมาให้ความสำคัญกับคนยากจนคนเสียเปรียบ และคนด้อยโอกาสให้มากขึ้นทรัพยากรของรัฐต้องนำมาใช้จ่าย เพื่อปรับปรุงบริการการศึกษา สำหรับคนยากจนให้ดีขึ้นเป็นพิเศษ ให้เพียงพอกับการสร้างลักษณะสิสัยและความพร้อมที่จำเป็น ถ้าคนยากจน คนเสียเปรียบ คนด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และมีคุณภาพ แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ในบ้านเมืองก็จะลดน้อยลงไปโดยปริยายและยังทำให้เขากลายเป็นกำลัง สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดีด้วย การศึกษานอกจากเป็นปัจจัยที่ 5 แล้ว ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต และเป็นปัจจัยเพื่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติในอนาคตอีกด้วย เราจงฝากความหวังของชาติ ด้วยการพัฒนาการศึกษากันเถิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ครูขนิษฐา

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล๊อกครูขนิษฐา ท่านสามารถค้นหาความรู้ในเรื่องราวของห้องสมุดโรงเรียน การเรียนรู้วิชาภาษาไทย สื่อที่น่าสนใจ และรูปภาพสวย ๆ ดูได้ที่นี่

"พุทธชยันตี" 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้

พิธีพุทธชยันตีที่เดลี กับการสังเกตการณ์กิจการพระพุทธศาสนาในศรีลังกา ในปีพ.ศ. ๒๔๙๓ เรื่องการจะเปลี่ยนมาสมาทานนับถือพระพุทธศาสนาของ ดร.อัมเบดการ์ชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น เพียงแต่รอจังหวะเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น ในปีเดียวกันนี้ ท่านได้แนะนำให้บริวารชนของท่านจัดเฉลิมฉลองวันพุทธชยันตี ๗ มีการจัดงานดังกล่าวขึ้นในกรุงนิวเดลี ท่านเองก็ได้ไปร่วมงานนี้ด้วย วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ชาวอินเดียในกรุงนิวเดลีก็ได้ชื่นชมกับขบวนแห่ของชาวพุทธเป็นครั้งแรกในรอบพันปีแต่พระพุทธสาสนาอันตรธานไปจากอินเดีย ในช่วงปีนั้นเช่นกัน ดร.อัมเบดการ์ได้เขียนบทความชื่อ “พระพุทธเจ้ากับอนาคตของพระพุทธศาสนา (Buddha and the Future of His Religion)" ตีพิมพ์ในวารสาร “มหาโพธิ” ฉบับวิสาขบูชาของสมาคมมหาโพธิ เมืองกัลกัตตา(โกลกาตา) ในบทความนี้ท่านได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไว้ว่า “พระพุทธศาสนาเป็นเพียงศาสนาเดียวเท่านั้นที่ชาวโลกควรยอมรับนับถือเพราะพระพุทธศาสนาสอนทั้งหลักศีลธรรม อิสรภาพ สมภาพ และภราดรภาพ” และในเดือนพฤษภาคมของปีนั้น(พ.ศ.๒๔๙๓) ดร.อัมเบดการ์ ได้รับเชิญให้เดินทางไปร่วมประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นในประเทศศรีลังกา ขณะพำนักอยู่ในศรีลังกา เป้าหมายหลักของท่านก็คือการเฝ้าสังเกตการณ์เรื่องการประกอบพิธีกรรม ได้ไปศึกษาวิธีการเผยแผ่พระศาสนาและการรักษาประทีปธรรมของพระพุทธเจ้าให้โชติช่วงมาจนถึงปัจจุบันโดยพระเถระชาวสิงหลและชาวพุทธสิงหล หลังกลับจากศรีลังกาแล้วดร.อัมเบดการ์จะเดินทางไป ณ สถานที่ใดก็ตามมักจะพูดถึงพระพุทธศาสนา ซึ่งมีทั้งอดีตอันรุ่งเรืองและมีอนาคตอันสดใสอยู่เนืองๆในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ดร.อัมเบดการ์ได้ประกาศว่า “ท่านจะอุทิศช่วงสุดท้ายของชีวิตเพื่อการฟื้นฟูและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอินเดีย”

ห้าคำมงคล

สวัสดี ขอบคุณ ขอบใจ เมื่อไม่เป็นไร ขอโทษ ห้าคำนี้จงจดจำนำไปใช้ประโยชน์นั้นมีมากมายทั้งหญิงชายล้วนชื่นชม

ข้าวห่อกะเหร่ยง

ข้าวห่อกะเหร่ยง

๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทย

วันภาษาไทยแห่งชาติ (๒๙ กรกฎาคม ) ความหมาย วันภาษาไทยแห่งชาติ คือ วันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในด้านภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นให้ชาวไทยทั่วชาติ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ร่วมใจกันใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์ภาษาไทยให้เป็นเอกลักษณ์อยู่คู่ชาติไทยต่อไป ความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๕ พระองค์ได้แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความห่วงใยในการใช้ภาษาไทยและบรรยากาศในการอภิปรายครั้งนี้ได้สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมการประชุมเป็นอย่างมาก ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ.๒๕๔๒ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ ๒๙กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ตามการเสนอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ประเทศไทยเป็นชาติที่มีภาษาพูดและภาษาเขียน ตัวอักษรไทยเป็นเอกลักษณ์ ประจำชาติ และกษัตริย์ทุกพระองค์เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ดังนั้น คนไทยจึงควรภาคภูมิใจและรู้จักการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องถึงแม้วัฒนธรรมตะวันตก และเทคโนโลยีจะเข้ามามีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อภาษาไทยก็ตาม ดังนั้น การมีวันภาษาไทยแห่ชาติ จะช่วยให้เกิดการรณรงค์ให้คนไทยรู้จักคุณค่า และมีการยกระดับภาษาไทยให้เป็นเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น

ความหมายของห้องสมุด

ห้องสมุด ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library มาจากศัพท์ในภาษาละตินว่า Liber แปลว่าหนังสือ โดยในอดีตห้องสมุดทำหน้าที่ เป็นแหล่งจัดเก็บหนังสือ เป็นการอนุรักษ์ความรู้ ส่วนในภาษาไทยจะใช้คำกลางๆ ว่า ห้องสมุด ในปัจจุบัน มีคำอื่นๆ ที่หน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการสารสนเทศนิยมใช้ในความหมายของคำว่าห้องสมุด เช่น ห้องสมุดของธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้คำว่า ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ ห้องสมุดของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ใช้คำว่า สำนักบรรณสารการพัฒนา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ใช้คำว่า สำนักบรรณสารสนเทศ และมีห้องสมุดมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ใช้คำว่า สำนักห้องสมุด สำนักหอสมุดกลาง ต่อด้วยชื่อสถาบันการศึกษานั้นๆ เป็นต้น ห้องสมุด หมายถึง สถานที่เก็บรวบรวมและให้บริการวัสดุหรือทรัพยากรสารสนเทศแก่สมาชิก โดยมีบรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตั้งแต่ การจัดหา การจัดเก็บ และการให้บริการ ตลอดจนดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรสนเทศ (ลมุล รัตตากร, 2539 : 27) ปัจจุบัน จากพัฒนาการของเทคโนโลยีด้านต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการผลิตวัสดุสารสนเทศจำนวนมาก ทั้งปริมาณและรูปแบบที่หลากหลาย การค้นหาข้อมูลสารสนเทศสามารถสืบค้นได้จากทั่วโลก โดยการสืบค้นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดมีการเปลี่ยนแปลง มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บค้นหา และเผยแพร่สารสนเทศของห้องสมุดได้ทันต่อความก้าวหน้าของวิทยากร และข่าวสารต่างๆ ที่ออกมาทุกรูปแบบ และปรับเปลี่ยนการให้บริการจากเดิม แทนที่จะให้บริการเชิงรับในรูปแบบที่อนุรักษ์ หวงแหน และคอยให้ผู้ใช้บริการมาหา เปลี่ยนเป็นการให้บริการเชิงรุก นำเสนอสารสนเทศต่อผู้ใช้มีการให้บริการสารสนเทศที่มีคุณค่าหลากหลายรูปแบบอย่างสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา ไม่จำกัดระยะเวลา สถานที่ และพยายามดำเนินการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศทุกประเภทด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จนกลายมาเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ห้องสมุดในอนาคตจึงเป็นแหล่งสั่งสมความรู้ของมนุษยชาติเป็นจำนวนมาก ที่มนุษย์สามารถ แสวงหาความรู้ได้อย่างกว้างขวางโดยไม่มีกำแพงขวางกั้น หรือเรียกว่า ห้องสมุดปราศจากกำแพง (Library without walls) และมีรูปแบบใหม่ๆ ของห้องสมุด มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) ห้องสมุดประสม (Hybrid Library) หรือห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นต้น

การจัดบุคลากรห้องสมุด

การจัดบุคลากรห้องสมุด งานห้องสมุดจะประสบผลสำเร็จและดำเนินไปได้ด้วยดีต้องมีบุคลากรเป็นผู้ดำเนินงานห้องสมุด ได้แก่ ครูบรรณารักษ์ ครูช่วยงานห้องสมุด เจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักเรียนช่วยงานห้องสมุด และอาสาสมัครช่วยงานห้องสมุด บุคลากรควรมีจำนวน ดังนี้ ๒.๑ ครูบรรณารักษ์ ไม่ควรมีชั่วโมงสอนเกิน ๕ คาบ จึงจะสามารถทำงานในห้องสมุดจัดบริการและกิจกรรมส่งเสริม การอ่านและส่งเสริมการเรียนการสอน และจัดห้องสมุดเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนได้เต็มที่ ในห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ และขนาดใหญ่ ควรมีครูบรรณารักษ์ ๑ คน ๒.๒ ครูช่วยงานห้องสมุดและเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ซึ่งจะช่วยในการดำเนินงานต่างๆ ของห้องสมุดตามความสามารถ และความสนใจ ควรมีจำนวน ๑ คน ต่อนักเรียน ๕๐๐ คน ๒.๓ นักเรียนช่วยงานห้องสมุด จะช่วยแบ่งภาระของครูบรรณารักษ์ ช่วยให้ห้องสมุดสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ในห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ควรมีนักเรียนช่วยงานห้องสมุด ๕๐ คน ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ ควรมีนักเรียนช่วยงานห้องสมุด ๔๐ คน ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง ควรมีนักเรียนช่วยงานห้องสมุด ๓๐ คน และห้องสมุดโรงเรียนขนาด เล็ก ควรมีนักเรียนช่วยงานห้องสมุด ๒๐ คน ๒.๔ อาสาสมัครช่วยงานห้องสมุด ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน บุคคลในชุมชน ซึ่งเสนอตัวเข้ามาเป็นอาสาสมัครทำงานใน ห้องสมุด และยินดีทำตามความสามารถและความเหมาะสม จำนวนนักเรียนขึ้นอยู่กับสภาพของห้องสมุดแต่ละแห่ง ห้องสมุดโรงเรียนควรมีคณะกรรมการห้องสมุดซึ่งจะทำหน้าที่กำหนดนโยบายวางแผนการดำเนินงานห้องสมุด และให้ความ สนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุด คณะกรรมการควรประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนเป็นที่ปรึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายที่รับผิดชอบงานห้อง สมุดเป็นประธาน หัวหน้าหมวดวิชาทุกหมวดวิชา หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานเป็นกรรมการ โดยมีครูบรรณารักษ์เป็นกรรมการและ เลขานุการ

องค์ประกอบของห้องสมุด

องค์ประกอบของห้องสมุดที่สำคัญ มีดังนี้ 1.หนังสือควรมีจำนวนเพียงพอ ทันสมัย การจัดเก็บดูแลรักษาเป็นระเบียบสะดวกแก่การค้นหา 2.เลือกและจัดหาวัสดุต่างๆ เช่น วารสาร จุลสาร แผนที่ ภาพยนตร์ เครื่องบันทึกเสียง และวัสดุอื่นๆที่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนได้ดี 3.สถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ มีความเหมาะสม เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่และมีน้ำใจ 4.เตรียมจัดและดูแลรักษาวัสดุเหล่านี้ เพื่อความสะดวกในการให้บริการแก่อาจารย์และนิสิต 5.บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ กระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่และมีน้ำใจ 6.การให้บริการ วัน และเวลาทำการควรจะเปิดกว้าง เพื่อให้บริการได้เต็มที่ สรุปได้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งวิทยาการที่เป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนการสอน และเป็นหัวใจของการศึกษาในทุกระดับ

การยืมและคืนหนังสือ

การยืม-คืนหนังสือ ระเบียบการยืม-คืนหนังสือห้องสมุด 1. การยืมหนังสือทุกครั้งต้องใช้บัตรยืมของห้องสมุด 2. เจ้าของบัตรเท่านั้นมีสิทธิ์ในการยืม-คืนหนังสือ 3. ผู้ยืมหนึ่งคน ยืมหนังสือได้ครั้งละไม่เกิน 2 เล่ม 4. หนังสือหนึ่งเล่ม ยืมได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน 5. ในการยืมหนังสือครั้งต่อไป ผู้ยืมต้องคืนหนังสือที่ยืมไปก่อนหน้านั้นเรียบร้อยแล้ว 6. ถ้าผู้ยืมส่งหนังสือช้ากว่ากำหนด ต้องเสียค่าปรับ วันละ 1 บาทต่อหนังสือ 1 เล่ม 7. ถ้าหนังสือที่ยืมไปเกิดชำรุด ผู้ยืมต้องรับผิดชอบในการซ่อมแซมหนังสือให้เรียบร้อย 8. ถ้าหนังสือที่ยืมไปสูญหาย ผู้ยืมต้องชดใช้ค่าหนังสือเป็นเงินจำนวน 2 เท่า ของราคาหนังสือ 9. ถ้าผู้ยืมไม่ปฏิบัติตามระเบียบการยืม-คืน หนังสือห้องสมุดที่กำหนดไว้ จะถูกยึดบัตรและหมดสิทธิ์ในการยืมหนังสือ

มรรยาทการใช้ห้องสมุด

เนื่องจากห้องสมุด เป็นสถานที่ที่มีคนมาใช้บริการจำนวนมาก จำเป็นจะต้องคำนึงถึงมรรยาทการใช้ห้องสมุด ดังต่อไปนี้ ๑.แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ๒.ไม่ควรนำกระเป๋าหนังสือ ถุงย่าม เข้าไปในห้องสมุด ยกเว้นกระเป๋าสตางค์ และฝากสิ่งของอื่นๆ ไว้ที่ที่ฝากซึ่งทางห้องสมุดจัดไว้ให้ ๓.ไม่ทำเสียงดังรบกวนผู้อื่น ๔.ไม่นำอาหาร ของขบเคี้ยว และเครื่องดื่มเข้าไปในห้องสมุด ๕.หยิบหนังสือหรือเอกสารด้วยความระมัดระวัง และอย่ารื้อค้นให้กระจุยกระจาย ๖.ไม่ขีดเขียน ฉีก หรือตัดหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ๗.เมื่อใช้หนังสือเสร็จแล้ว ให้ปฏิบัติตามระเบียบของห้องสมุดนั้นๆ ๘.ไม้ควรนำหนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือวารสารมาไว้อ่านครั้งละหลายฉบับ เพื่อผู้อื่นจะได้มีโอกาสใช้บ้าง ๙.เมื่อลุกจากที่นั่งแล้วควรเลื่อนเก้าอี้เก็บให้เรียบร้อย ๑๐.ยืมหนังสือก่อนนำออกจากห้องสมุด และส่งคืนตามวันที่กำหนด